Mind Mapping
ขอบเขตเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นอนุบาล
๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
Quarter 1
|
Quarter 2
|
Quarter 3
|
Quarter 4
|
||||
วรรณกรรม
|
หลักภาษา
|
วรรณกรรม
|
หลักภาษา
|
วรรณกรรม
|
หลักภาษา
|
วรรณกรรม
|
หลักภาษา
|
นิทาน
- เต่าภูมิใจ
-
ปลาดาวบนชายหาด
-
ภูเขากับต้นไม้
-
เด็กชายกับดวงดาว
-
พระราชาบนดาวสีเขียว
- นิทานอื่นๆ |
-
พยัญชนะไทย
คือ ก-ฮ
-
ฐานกัณฐชะ (คอ) พยัญชนะไทย คือ ก ข ฃ
ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
- ฐานตาลุชะ (เพดาน) พยัญชนะไทย คือ จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย ศ
- ฐานมุทธชะ (ปุ่มเหงือก) พยัญชนะไทย คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ
- ฐานหันตะชะ (ฟัน) พยัญชนะไทย คือ ด ต ถ ท ธ น ล ส
- ฐานโอฐชะ (ริมฝีปาก)พยัญชนะไทย คือ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
|
นิทาน
- เต่าภูมิใจ
-
ปลาดาวบนชายหาด
-
ภูเขากับต้นไม้
-
เด็กชายกับดวงดาว
-
พระราชาบนดาวสีเขียว
- นิทานอื่นๆ |
พยัญชนะไทย
คือ ก-ฮ
|
นิทานพยัญชนะเล่มที่ ๑-๗
นิทานสระ
|
พยัญชนะไทย
คือ ก-ฮ
สระเดี่ยว
การประสมคำ
|
||
เวลาเรียน
๑๐ สัปดาห์ (๒๐ชั่วโมง)
|
เวลาเรียน
๙ สัปดาห์ (๒๗ ชั่วโมง)
|
เวลาเรียน
๙ สัปดาห์ (๓๐ ชั่วโมง)
|
สาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นอนุบาล 2 (Quarter 3) ปีการศึกษา 2559
ความรู้
|
ทักษะ/กระบวนการ
|
คุณลักษณะ
|
๑.พยัญชนะไทย
คือ ก-ฮ
๒.ฐานกัณฐชะ
(คอ) พยัญชนะไทย คือ ก ข ฃ
ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
๓.ฐานตาลุชะ (เพดาน) พยัญชนะไทย คือ จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย ศ
๔.ฐานมุทธชะ (ปุ่มเหงือก) พยัญชนะไทย คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ
๕.ฐานหันตะชะ (ฟัน) พยัญชนะไทย คือ ด ต ถ ท ธ น ล ส
๖.ฐานโอฐชะ (ริมฝีปาก)พยัญชนะไทย คือ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
๗.การผสมเสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์
( ะ า ิ
ี ึ ื
ุ ู เ
แ โ ใ
ไ / ่ ้
๊ ๋ ฯลฯ)
๘.คำศัพท์พื้นฐานสำหรับวัยอนุบาล
(เช่น แม่ บ้าน พ่อ เล่น มี ให้ ชอบ
นอน มือ ตา ปาก ฯลฯ)
๙. คำนาม เช่น ชื่อเพื่อน ชื่อตัวเอง
ชื่อสิ่งของต่างๆ
๑๐. คำกิริยา ท่าทางต่างๆที่สามารถสื่อสารกับเพื่อนๆได้ เช่น กิน นอน นั่ง เดิน วิ่ง ฯลฯ |
๑.ทักษะทางภาษา
การฟัง
- ฟังนิทาน
- ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
- ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
- ฟังและตอบคำถาม
- การฟังและจำแนกเสียง เช่น
เสียงสัตว์
การพูด
- บอกความต้องการ/ความรู้สึก
- สนทนาถาม-ตอบ
- อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
- ร้องเพลง
คำคล้องจอง
- แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
- เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว
เหตุการณ์ที่ได้ฟัง ได้เห็น หรือประสบจริง
- แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
- เล่าเรื่องตามภาพ
|
๑. อ่านและเขียนพยัญชนะไทยได้
๒. ฟังเรื่องราว นิทาน
ปริศนาคำทาย
สามารถจับใจความ ตั้งคำถาม ตอบคำถามได้
๓. มีนิสัยรักการอ่าน
๔. มีมารยาทที่ดีในการฟัง ดู
และพูด
๕. บอกความหมายของคำได้ถูกต้องและแตกแขนงทางภาษาได้
๖. ใช้ทักษะทางภาษาในการสื่อความหมาย
และสื่อสารได้
๗. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
|
ความรู้
|
ทักษะ/กระบวนการ
|
คุณลักษณะ
|
การอ่าน
-
อ่านตามภาพ
- อ่านท่าที
ท่าทาง สีหน้า ลักษณะต่างๆ
- การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
- อ่านตามตัวอย่าง
- การสะกดคำง่ายๆ เช่น
แม่ ก กา
การเขียน
- เขียนตามตัวอย่าง
- เขียนตามจินตนาการ
-
การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
๒. ทักษะการคิด
๒.๑ พฤติกรรมสมอง
๒.๒ การคิด Key Thinking
๓. การทำงานกลุ่ม
๔. การเขียน Mind Mapping สรุปองค์ความรู้
|
หลักสูตรพื้นฐานการเรียนรู้
ภาษาไทย
ระดับชั้นอนุบาล
2
ปีการศึกษา 2559
พื้นฐานทักษะด้านภาษาไทย
|
|||
l
ทักษะการฟัง
-
ฟังแล้วเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งได้ถูกต้อง
-
ทำตามคำสั่ง 1 – 2 ข้อได้
-
สามารถแยกแยะธรรมชาติของเสียง
อักขระ และสามารถจับเสียงของคำคล้องจองแบบง่ายๆได้
-
ฟังเรื่องราวจากสถานการณ์ต่างๆรอบตัวได้อย่างตั้งใจ สามารถสรุปใจความสำคัญและบอกคำศัพท์ใหม่ได้
-
สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องขณะที่ฟังผู้อื่นพูด
เช่น การรู้จักเกรงใจผู้อื่น
-
มีมารยาทที่ดีในการฟัง เช่น ไม่พูดแทรกหรือขัดจังหวะ รู้จักเวลาในการพูด ไม่หยอกล้อกันในขณะที่ฟัง
|
l
ทักษะการพูด
-
พูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์มีประธาน
กิริยา และกรรมได้
-
พูดตามประโยคสั้นๆ ได้
-
บอกชื่อ-สกุลของตัวเอง
ที่ตั้งของบ้านได้
-
เล่าเรื่องโดยใช้ประโยคที่มีการเรียบเรียงที่สมบูรณ์ขึ้น ยาวขึ้น
-
ท่องกลอนง่ายๆ
ได้อย่างชัดเจนในกลุ่มเพื่อน
-
พูดคำศัพท์ใหม่ๆ ชอบเล่นคำและเสียงต่างๆ
|
l
ทักษะการอ่าน
-
รู้จักพยัญชนะต้นและตัวอักษรในชื่อของตนเอง
-
ทำนายเนื้อเรื่องและเหตุการณ์จากหนังสือที่เห็นได้
-
รู้จักวิธีเก็บและรักษาหนังสือ
-
สามารถวางท่าทางในขณะนั่งอ่านหนังสือได้ถูกต้อง
เช่น นั่งหลังตรง
สายตาห่างจากหนังสือในระยะที่พอดี
-
สามารถกวาดสายตาในการอ่านหนังสือโดยใช้นิ้วชี้ไล่ตามอักษร มองจากซ้ายไปขวาพร้อมกับทำท่าการอ่านด้วย
-
สามารถเลือกหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน
และแยกแยะหนังสือที่ตนรู้จักและไม่รู้จักได้
|
l
ทักษะการเขียน
-
สามารถขีดเขียนได้คล้ายของจริง
สร้างภาพได้ชัดเจนขึ้น
-
เขียนหนังสือได้ถูกต้อง
มีลักษณะท่านั่ง
ท่าจับดินสอ
การเคลื่อนไหวมือได้ถูกต้อง
-
มีนิสัยที่ดีในการขีดเขียน เช่น เขียนในที่สมควรเขียน
- สามารถใช้กล้ามเนื้อตาได้สอดคล้องกับมือ และใช้ได้อย่าคล่องแคล่ว
- เขียนพยัญชนะ
สระ
โดยหัวไม่บอดและเขียนจากบนลงล่างได้
|
ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทย
ระดับชั้นอนุบาล ๒ ภาคเรียนที่ ๒ (Quarter 3) ปีการศึกษา ๒๕๕๙
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถทบทวนความรู้เดิมเรื่องพยัญชนะไทยจากQuarterที่2และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
|
||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑
|
โจทย์
ทบทวนความรู้ หลักภาษา - พยัญชนะในภาษาไทย
คำถาม
-นักเรียนรู้จักพยัญชนะตัวใดบ้าง
และพยัญชนะตัวนั้นออกเสียงอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมความคิดเกี่ยวกับพยัญชนะ Blackboard Share : พยัญชนะและคำศัพท์ Show and Share : ชิ้นงาน ผลงาน Wall Thinking : นำเสนอชิ้นงาน |
-ครูและนักเรียนกล่าวคำทักทายและไหว้ซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนรู้จักพยัญชนะตัวใดบ้าง
และพยัญชนะตัวนั้นออกเสียงอย่างไร”
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
-ครูเขียนพยัญชนะบนกระดาน
-นักเรียนเขียนพยัญชนะลงในกระดาษ
-ครูและนักเรียนร่วมกันอ่านออกเสียงพยัญชนะ
-ครูใช้คำถาม
“ แล้วชื่อของนักเรียนมีพยัญชนะตัวไหนบ้าง”
-นักเรียนเขียนชื่อของตนเองลงในสมุด
และนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆฟัง
-ครูมีเกมปริศนาคำทายมาให้นักเรียนได้ทายกัน
เช่น อะไรเอยมีสองเท้าไว้คุ้ยเขี่ยหากิน ปากร้องเจี๊ยบๆ ( ไก่ )
-ครูเขียนเฉลยบนกระดานพร้อมกับวาดภาพประกอบ
-ครูใช้คำถาม
นักเรียนเห็นพยัญชนะตัวไหนบ้าง
-ครูเชื่อมโยงโดยการนำคำตอบที่อยู่บนกระดานมาเชื่อมโยงกับเด็ก
“ นักเรียนเคยพบเจอสิ่งนี้ที่ไหนบ้าง”
-ครูเริ่มเล่าเรื่องราวของครูก่อน
และนักเรียนร่วมกันเล่าเรื่องราวของตนเอง
-ครูตั้งคำถาม
นักเรียนชื่นชอบพยัญชนะไทยตัวไหน เพราะอะไร ถ้าพูดถึงพยัญชนะตัวนั้น
นักเรียนนึกถึงสิ่งใด
-ครูให้นักเรียนเขียนและวาดภาพพยัญชนะไทยลงในหน้าต่างพยัญชนะ
|
ชิ้นงาน
- เขียนพยัญชนะไทย
ก-ฮ
ภาระงาน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ที่มีในเนื้อเรื่อง |
ความรู้
-
รู้และเข้าใจพยัญชนะในภาษาไทย โดยสามารถออกเสียงได้ชัดเจน
- เข้าใจความหมายของคำ
และฝึกอ่านออกเสียงพยัญชนะและคำศัพท์ ในเนื้อเรื่องที่อ่านได้
ทักษะ - มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
-
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- รักการอ่าน
|
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถทบทวนความรู้เดิมเรื่องพยัญชนะไทยและสามารถอ่านสะกดคำง่ายๆได้พร้อมกับอ่านประสมคำที่มีสระอา
|
||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๒
|
โจทย์
ทบทวนความรู้
การประสมคำ
สระอา
หลักภาษา - พยัญชนะในภาษาไทย
คำถาม
-นักเรียนรู้จักพยัญชนะตัวใดบ้าง
และพยัญชนะตัวนั้นออกเสียงอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมความคิดเกี่ยวกับพยัญชนะ Blackboard Share : พยัญชนะและคำศัพท์ Show and Share : ชิ้นงาน ผลงาน Wall Thinking : นำเสนอชิ้นงาน |
-ครูและนักเรียนกล่าวคำทักทายและไหว้ซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนรู้จักพยัญชนะตัวใดบ้าง
และพยัญชนะตัวนั้นออกเสียงอย่างไร”
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
-ครูเล่านิทานสระ
อา ให้นักเรียนฟังพร้อมกับตั้งคำถามกระตุ้นคิด
-ครูมีกล่องวิเศษใส่พยัญชนะ ก-ฮ มาให้นักเรียนล้วงคนละ 1-2 ใบพร้อมกับอ่านออกเสียง
-นักเรียนร่วมกันเรียงพยัญชนะจาก
ก-ฮ พร้อมกับอ่านออกเสียง
-ครูเล่านิทาน
ข ฃ ช ซ พร้อมกับประสมคำกับสระอา
-นักเรียนจับพยัญชนะคนละ
1 ใบ เพื่อมาประสมกับสระ
-ครูและนักเรียนร่วมกันอ่านประสมคำพร้อมกัน
-นักเรียนเขียนคำศัพท์ลงในสมุด
|
ชิ้นงาน
- เขียนพยัญชนะไทย
ก-ฮ
-เขียนประสมคำ
-อ่านออกเสียงคำ
ภาระงาน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ที่มีในเนื้อเรื่อง
-อ่านออกเสียงคำ
- เขียนพยัญชนะไทย
ก-ฮ
-เขียนประสมคำ |
ความรู้
-
รู้และเข้าใจพยัญชนะในภาษาไทย โดยสามารถออกเสียงได้ชัดเจน
- เข้าใจความหมายของคำ
และฝึกอ่านออกเสียงพยัญชนะและคำศัพท์ ในเนื้อเรื่องที่อ่านได้
ทักษะ - มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
-
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- รักการอ่าน
|